Inspiration, Travel

ASRM 2019

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไป ASRM 2019   ปีนี้เป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่ได้ไปงานนี้   หลายสิ่งเหมือนเดิม แต่หลายสิ่งที่รู้สึกเปลี่ยแปลงไป   1. โลกเราเล็กกว่าเดิมมาก จากปีแรกที่ได้ไปรู้สึกว่าโลกกว้างมากกกก แต่พอมาเป็นปีที่สี่ หลายๆอย่างไม่ต่างจากเดิมนัก จริงอยู่ที่มีของใหม่ๆมาให้ว้าว แต่หลักๆก็ยังเหมือนเดิม และจากการที่เราสามารถทำงานที่ได้ก็ได้ของโลก ทำให้เราเชื่อมโยงกับเพื่อนร่วมงานข้ามทวีปได้อย่างไรรอยต่อ   2. ภาษาเป็น skill ที่ต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ต้องได้พูด ต้องได้ฟัง ถึงจะใช้งานได้คล่อง(ไปทุกเดือนเลยน่าจะดี)   3. เมืองไทยเป็นเมืองที่น่าอยู่มากกกก เพราะไปคราวนี้เจอคนไร้บ้านเพียบ ดูน่ากลัว รถไฟฟ้าใต้ดินก็มีคนมาขอเงิน เจอกลุ่มมาม้วนยาสูบอยู่ตรงหน้า(เมาไปกับเค้าด้วยยยย เดี๋ยวเมืองไทยก็มีแบบนี้)   4. ทำงานที่ไหนในโลกอาจจะไม่ต่างกันมากนัก ถ้าเราขยันพอ และโอกาสมีให้เราได้ไขว้คว้าเสมอ ถ้าเราเตรียมพร้อม   5. การทักกัน และลืมชื่อเป็นเรื่องปกติ เมื่อก่อนอาจจะเสียหน้าเวลาเราไปทักเค้า แล้วเค้าจำเราไม่ได้ ตอนนี้เป็นเอง คนอื่นมาทักเรา เราจำไม่ได้ ให้ขอโทษเค้า แล้วเรามาคุยกันต่อได้นะ   6. อย่าลืมที่จะต้องนั่งหน้า เพราะคนที่อยู่ด้านหน้ามักจะเป็นคนที่ตั้งใจมาฟังจริงๆ […]

Read more
Travel

“โทได ได้ไปแล้ว” ตอนที่ 2 “C ของเราไม่เท่ากัน”

“โทได ได้ไปแล้ว” ตอนที่ 2 “C ของเราไม่เท่ากัน” ได้คุยเรื่องการทำงานเกี่ยวกับเรื่องวิจัย ว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการทำวิจัยคืออะไร Prof บอกสิ่งสำคัญที่สุดคือ Collaboration ที่เค้าทำได้เยอะ เพราะเค้ามีเครือข่ายที่ดี แข็งแรง หลากหลาย ทำให้สามารถทำงานออกมาได้มาก เลยถามต่อว่า มี KPI ไหมว่าต้องมีงานวิจัยตีพิมพ์เท่าไหร่ต่อปี Prof บอก ไม่มีหรอก งานวิจัยเราต่อดีพอ พร้อมพอ ถึงจะส่งตีพิมพ์ ไม่เหมือนบางประเทศ(ไม่ขอเอ่ยนาม) ที่ต้องการจำนวนเยอะๆ อันนั้นเค้าเรียก Competition #Abhaibhubejhr #ได้ร่วมงานกันต่อ #โรงพยาบาลคิดนอกกรอบ

Read more
Travel

บันทึกเดินทาง “โทได ได้ไปแล้ว” ตอนที่ 1

“โทได ได้ไปแล้ว” ตั้งแต่เล็กจนโตหวังมาตลอดว่าจะได้มาที่นี่เพราะเราได้อ่านการ์ตูนเรื่องด็อกเตอร์เค ฝังหัวมาตลอดว่าคนที่นี่เก่งมากๆ(พอมาเพิ่งได้รู้ว่าอาจารย์ที่นี่หลายคนได้รับรางวัลโนเบลแล้ว แต่ยังไม่มีจากคณะแพทย์) มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผ่าตัด คลินิกมีบุตรยาก คลีนิกโรคเฉพาะทาง ได้เรียนรู้มากมาย มีเรื่องอยากแชร์หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบ การได้ตำแหน่งทางวิชาการศาสตราจารย์ของที่นี่ต้องมีบทความตีพิมพ์อย่างน้อย 200 เรื่องในวารสารระดับนานาชาติทั้งภาควิชามีศาสตราจารย์แค่สองคน อีกสี่คนเป็นรองศาสตราจารย์และกว่าอีก 50 คนเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ถ่ายกับศาสตราจารย์สองท่านนี้รู้สึกถึงพลังหลั่งไหลมาสู่ตัว) เรื่องของการทำงานวิจัยนักศึกษาปริญญาเอกของที่นี่มีความมุ่งมั่นนั่งคุยกันรู้เลยว่าเค้าตั้งใจให้งานออกมาดีขนาดไหนทำมืดดึกดื่นก็ยังทำงานเวลานั่งประชุมกันไม่มีใครแอบเหลียวมองดูนาฬิกานอกจากเรา หุหุ การดูคนไข้ของที่นี่เป็นแบบ group practice ไม่มีเจ้าของไปสิ่งสำคัญที่สุดคือการแชร์ข้อมูลข่าวสารประวัติของคนไข้เพราะเมื่อคนต่อมามาดูว่าจะสามารถเข้าใจได้ทันที ระบบเอกสารดูซับซ้อนกว่าของเราเยอะต้องเขียนซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อลดความผิดพลาด สิ่งสำคัญที่สุดของการดูแลคนไข้ที่โรงพยาบาลนี้คือเรื่องของ patient safety เรียกได้ว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ยากมาก ยกตัวอย่างเช่นหลังผ่าตัดต้องทำเอกซเรย์ท้องทุกรายเพื่อป้องกันสิ่งตกค้างแม้ว่าจะนะอุปกรณ์ครบหมดแล้วก็ตามหรือการตรวจประเมินก่อนผ่าตัดที่บ้านเราไม่ทำ เช่น ตรวจ spirometry ทุกราย การจะมาดูงานที่นี่ต้องส่ง CV มาก่อน ทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ต้องส่งผลเลือดมาให้ดู พอมาถึงหมอที่มาดูแลจะรู้เลยว่าประวัติเราเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรมาบ้างแล้ว หมอที่จะก้าวสู่ตำแหน่งได้ ก็ต้องไปเรียนต่างประเทศ ถาม Prof ว่าทำไมต้องส่งไป เพราะที่นี่คือแหล่งความรู้ระดับโลกอยู่แล้ว ท่านตอบว่าไม่ได้ให้ไปแค่เรียนรู้ด้านการทำงาน แต่อยากให้ไปเรียนรู้ชีวิตสังคมเรื่องรู้ถึงความแตกต่างเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน เพราะการทำงานที่แท้จริงไม่ได้มีแต่เรื่องของความรู้อย่างเดียวต้องรู้จักปรับตัวสื่อสารการทำงานกับคนอื่นด้วย เค้าสนใจการทำงานของเราไม่น้อย ทั้งเรื่องของการแพทย์ผสมผสาน การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ถึงกล้องสั่งงานด้วยเสียง(เค้างงอยู่ ผ่าตัดมดลูกมีหมอคนเดียวทำได้ไง ที่นี่ใช้หมอสามคน […]

Read more