“โทได ได้ไปแล้ว” ตอนที่ 2 “C ของเราไม่เท่ากัน” ได้คุยเรื่องการทำงานเกี่ยวกับเรื่องวิจัย ว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการทำวิจัยคืออะไร Prof บอกสิ่งสำคัญที่สุดคือ Collaboration ที่เค้าทำได้เยอะ เพราะเค้ามีเครือข่ายที่ดี แข็งแรง หลากหลาย ทำให้สามารถทำงานออกมาได้มาก เลยถามต่อว่า มี KPI ไหมว่าต้องมีงานวิจัยตีพิมพ์เท่าไหร่ต่อปี Prof บอก ไม่มีหรอก งานวิจัยเราต่อดีพอ พร้อมพอ ถึงจะส่งตีพิมพ์ ไม่เหมือนบางประเทศ(ไม่ขอเอ่ยนาม) ที่ต้องการจำนวนเยอะๆ อันนั้นเค้าเรียก Competition #Abhaibhubejhr #ได้ร่วมงานกันต่อ #โรงพยาบาลคิดนอกกรอบ
Read moreบันทึกเดินทาง “โทได ได้ไปแล้ว” ตอนที่ 1
“โทได ได้ไปแล้ว” ตั้งแต่เล็กจนโตหวังมาตลอดว่าจะได้มาที่นี่เพราะเราได้อ่านการ์ตูนเรื่องด็อกเตอร์เค ฝังหัวมาตลอดว่าคนที่นี่เก่งมากๆ(พอมาเพิ่งได้รู้ว่าอาจารย์ที่นี่หลายคนได้รับรางวัลโนเบลแล้ว แต่ยังไม่มีจากคณะแพทย์) มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผ่าตัด คลินิกมีบุตรยาก คลีนิกโรคเฉพาะทาง ได้เรียนรู้มากมาย มีเรื่องอยากแชร์หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบ การได้ตำแหน่งทางวิชาการศาสตราจารย์ของที่นี่ต้องมีบทความตีพิมพ์อย่างน้อย 200 เรื่องในวารสารระดับนานาชาติทั้งภาควิชามีศาสตราจารย์แค่สองคน อีกสี่คนเป็นรองศาสตราจารย์และกว่าอีก 50 คนเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ถ่ายกับศาสตราจารย์สองท่านนี้รู้สึกถึงพลังหลั่งไหลมาสู่ตัว) เรื่องของการทำงานวิจัยนักศึกษาปริญญาเอกของที่นี่มีความมุ่งมั่นนั่งคุยกันรู้เลยว่าเค้าตั้งใจให้งานออกมาดีขนาดไหนทำมืดดึกดื่นก็ยังทำงานเวลานั่งประชุมกันไม่มีใครแอบเหลียวมองดูนาฬิกานอกจากเรา หุหุ การดูคนไข้ของที่นี่เป็นแบบ group practice ไม่มีเจ้าของไปสิ่งสำคัญที่สุดคือการแชร์ข้อมูลข่าวสารประวัติของคนไข้เพราะเมื่อคนต่อมามาดูว่าจะสามารถเข้าใจได้ทันที ระบบเอกสารดูซับซ้อนกว่าของเราเยอะต้องเขียนซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อลดความผิดพลาด สิ่งสำคัญที่สุดของการดูแลคนไข้ที่โรงพยาบาลนี้คือเรื่องของ patient safety เรียกได้ว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ยากมาก ยกตัวอย่างเช่นหลังผ่าตัดต้องทำเอกซเรย์ท้องทุกรายเพื่อป้องกันสิ่งตกค้างแม้ว่าจะนะอุปกรณ์ครบหมดแล้วก็ตามหรือการตรวจประเมินก่อนผ่าตัดที่บ้านเราไม่ทำ เช่น ตรวจ spirometry ทุกราย การจะมาดูงานที่นี่ต้องส่ง CV มาก่อน ทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ต้องส่งผลเลือดมาให้ดู พอมาถึงหมอที่มาดูแลจะรู้เลยว่าประวัติเราเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรมาบ้างแล้ว หมอที่จะก้าวสู่ตำแหน่งได้ ก็ต้องไปเรียนต่างประเทศ ถาม Prof ว่าทำไมต้องส่งไป เพราะที่นี่คือแหล่งความรู้ระดับโลกอยู่แล้ว ท่านตอบว่าไม่ได้ให้ไปแค่เรียนรู้ด้านการทำงาน แต่อยากให้ไปเรียนรู้ชีวิตสังคมเรื่องรู้ถึงความแตกต่างเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน เพราะการทำงานที่แท้จริงไม่ได้มีแต่เรื่องของความรู้อย่างเดียวต้องรู้จักปรับตัวสื่อสารการทำงานกับคนอื่นด้วย เค้าสนใจการทำงานของเราไม่น้อย ทั้งเรื่องของการแพทย์ผสมผสาน การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ถึงกล้องสั่งงานด้วยเสียง(เค้างงอยู่ ผ่าตัดมดลูกมีหมอคนเดียวทำได้ไง ที่นี่ใช้หมอสามคน […]
Read more