สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปประชุม SEUD2018
โดยจะขอเกริ่นเกี่ยวกับงานประชุมนี้สั้นๆ
SEUD คือ Society of Endometriosis and Uterine Disorder กล่าวง่ายๆคือโรคของผู้หญิง เช่น ปวดประจำเดือน เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ที่เกิดจากมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริยผิดที่ หรือว่ามีเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เป็นต้น
แต่ความพิเศษเพิ่มเติมคิือ สมาคมนี้เน้นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ เรียกได้ว่าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
งานนี้จัดมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว รอบนี้มีผู้ร่วมประชุมประมาณ 1500 คน จาก 70 ประเทศทั่วโลก
ตอนที่ไปครั้งแรกคือครั้งที่ 2 ตอนนั้นเป็นคนไทยคนเดียวที่ไปงานนี้ ก็เลยได้รู้จักกับชาติอื่นๆเยอะหน่อย(เหงา ต้องหาคนคุยด้วย)
โดยมาครั้งที่ 3 แล้ว งานนี้ได้อะไรต่างจากเดิมบ้าง
– เป็นหมอนี่เรียกได้ว่าอยู่ปลายน้ำมากๆ เค้าคิดค้นวิจัยตั้งแต่อยู่ในหลอดแก้ว ในสัตว์ทดลองกันมาหลายปีกว่าที่จะออกมาเป็นยาให้เราใช้เพื่อรักษาคนไข้ “แต่” หากเรามีความรู้ด้าน basic science มากพอก็จะสามารถนำมาประยุกต์รักษาคนไข้ได้เช่นกัน
– แม้จะมาทุกปี แต่ว่ายังมีเรื่องใหม่ๆให้เรียนรู้ได้เสมอ การแพทย์ในต่างประเทศไปไวมาก ผลงานตีพิมพ์ออกกันรัวๆ Guideline ออกตามไม่ทัน
– “Gold standard is individual” มี Prof ท่านหนึ่งกล่าวไว้ เพราะพอไปดูแลคนไข้ไปเรื่อยๆ จะรู้ว่าแต่ละคนมีเหตุปัจจัย เพื่อที่เลือกแนวทางการรักษาต่างๆกัน เพราะฉะนั้นการรักษาที่เป็นมาตราฐานเดียวสำหรับทุกคนคงจะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ
– ต้อง “เก็บมาเล่า เอามาทำ” เมื่อได้ส่งเสียตัวเองไปเข้าประชุมแล้ว ก็ต้องนำมาบอกต่อสอนคนอื่นๆ และนำมาใช้ในการดูแลคนไข้ เพราะหากว่าเก็บประสบการณ์ไว้ที่เราคนเดียว เราก็จะรู้คนเดียว อย่างมากก็ดูแลคนไข้ได้วันนึงไม่เกิน 100 คน แต่ถ้าหากเรานำมาเล่าต่อ ความรู้กระจายไปคนไทยก็คงจะมีสุขภาพดีมากขึ้น
– มาประชุมแล้วต้องได้งานต่อ หลังจากงานนี้ได้มาอีกหลาย project ไม่ว่าจะเป็น International webinar หรือเชิญวิทยากรมางาน AMISU ครั้งที่ 6 (วิทยากรงาน AMISU ทุกท่านที่เคยมา ได้มาบรรยายที่งาน SEUD ด้วย เรียกได้ว่าระดับโลกก็มาที่ปราจีนนะครับ)
– มีโอกาสต้องกล้าเข้าไปถาม เนื่องด้วยกลางปีจะมีประชุมใหญ่ที่สเปน เป็นโอกาสอันดี เพราะรู้ว่า Prof ชื่อดังท่านหนึ่งทำงานที่นั่น เลยเดินไปบอกอาจารย์เค้าตรงๆว่า “อาจารย์ครับ ผมต้องไปประชุมงานนี้ ที่เมืองของอาจารย์ ผมขอโอกาสเข้าไปดูการผ่าตัด และดูระบบงานงานในโรงพยาบาลอาจารย์ได้ไหมครับ” และคำตอบที่ได้ “เอาสิๆ มากี่วัน อยากดูเคสอะไรบ้าง ผมจะเตรียมไว้ให้ ยินดีมากๆเลย” คหสต. “ถ้าเราเคยเปิดโอกาสให้คนอื่น คนอื่นก็จะเปิดโอกาสให้เราเช่นกัน”
To do list หลังจากงานนี้มีอีกมากมาย
#สู้
#Abhaibhubejhr
#AMISU