องค์การอนามัยโลก ทำการศึกษาผู้ชายที่มีลูกใน 1 ปี ควรจะมีน้ำเชื้อคุณภาพแบบนี้ น้ำอสุจิ 1.5 ซีซ๊ ปริมาณของอสุจิ 15 ล่านตัวต่อซีซี อสุจิทั้งหมดต่อการหลั่ง 1 ครั้ง 39 ล้านตัว รูปร่างหน้าตา(ของอสุจิ)ปกติ 4 เปอร์เซนต์ อสุจิออกมามีชีวิต 58 เปอร์เซนต์ อสุจิเคลื่อนไหวได้อย่างดี 32 เปอร์เซนต์ อสุจิเคลื่อนไหวทั้งอย่างดี และไม่ดีรวมกัน 40 เปอร์เซนต์ บทความอ้างอิงจาก http://brazjurol.com.br/july_august_2014/Esteves_443_453.htm
Read moreการแพทย์ 8 บรรทัด “อาการที่พบได้ในคนที่เป็นเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก”
ประจําเดือนมามากผิดปกติ ปวดประจำเดือน เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะบ่อยขึ้น ท้องผูก ทำให้มีลูกยาก ไม่มีอาการใดๆ บทความอ้างอิงจาก http://www.uptodate.com
Read moreการแพทย์แปดบรรทัด “แนวทางการเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก”
เป็นหรือตาย : ความรุนแรงของโรค หากรุนแรงมากควรจะให้การรักษาที่เป็นมาตราฐานก่อน จะหายไหม : หากมีข้อมูลเรื่องของการรักษาทางแผนปัจจุบันแล้วดีขึ้น จะขอใช้ทางแผนปัจจุบันก่อน ได้แล้วแย่ : การรักษาแผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงมาก ทำให้ไม่คนไข้ไม่สามารถใช้ได้ แบหลักฐาน : ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของแพทย์ทางเลือก ตรวจฐานความคุ้ม : เกี่ยวกับรู้ความเข้าใจในประโยชน์และโทษของการใช้การแพทย์ทางเลือก สุ่มความเข้าใจ : เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งการยินยอมเกี่ยวกับความเสี่ยงในการรักษา ใช้อย่างต่อเนื่อง : ความสม่ำเสมอในการรับการรักษาโดยการแพทย์ทางเลือกของคนไข้ จำแหล่งอ้างอิงไม่ได้จริงๆครับ หากพบจะรีบนำมาลงให้ครับ
Read moreการแพทย์แปดบรรทัด “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่”
ผู้ป่วยโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักจะมีอาการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง เจ็บท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์ มีบุตรยาก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นโรคเรื้อรัง มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้ ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเน้นการรักษาโดยใช้ยาร่วมด้วย เพื่อลดการผ่าตัดซ้ำให้น้อยที่สุด(อย่างที่ทราบว่ามีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่พบได้ทุกวัย เด็กก่อนมีประจำเดือน วััยเจริญพันธ์ุ หรือแม้แต่หญิงวัยหมดประจำเดือน แม้จะตัดมดลูกไปแล้ว ก็อาจจะยังมีอาการปวดท้องน้อยได้อีกถึง 15% สรุปจากงานประชุม VENUS 2017
Read moreการแพทย์แปดบรรทัด “เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก(Uterine fibroid)ทำให้ท้องยากขึ้น”
เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกพบได้บ่อย บางการศึกษาอาจจะพบได้ถึง 70% ในผู้หญิงทั่วไป เนื้องอกมดลูกที่ตำแหน่งอยู่ในโพรงมดลูก เชื่อได้ว่าทำให้ท้องยาก เนื้องอกมดลูกที่ทำให้โพรงมดลูกผิดรูปไป เป็นสาเหตุให้ท้องยาก แท้งง่าย เนื้องอกมดลูกที่อยู่ตำแหน่งอื่นๆ ยังไม่แน่ว่าเป็นสาเหตุให้ท้องยากหรือไม่ บางรายงานเชื่อว่าแม้จะอยู่ที่ตำแหน่งอื่น ก็ทำให้ท้องยาก เพราะมดลูกจะบีบตัวผิดปกติ การไหลเวียนของเลือดเปลี่ยนไป มีการขวางกั้นการเดินทางของอสุจหรือไข่ และทำให้การฝังตัวของตัวอ่อนผิดปกติ บางรายงานบอกว่าเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกขนาดเกิน 4 ซม. จะมีผลเสียต่อการทำเด็กหลอดแก้ว บทความอ้างอิงจาก http://www.medscape.com/viewarticle/837099_1
Read moreการแพทย์แปดบรรทัด “Lifestyle ก็มีส่วนทำให้ท้องยาก”
อ้วนไป(BMI > 35) ทำให้กว่าจะท้องนานกว่าคนทั่วไป 2 เท่า ผอมไป(BMI<19) ทำให้กว่าจะท้องนานกว่าคนทั่วไป 4 เท่า(คนไทยก็ตัวประมาณนี้ครับ) สูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเป็นคนท้องยาก เพิ่มขึ้น 60%(แถมยังทำให้แท้งมากขึ้นด้วยอีกต่างหาก) ดื่มแอลกอฮอล ทำให้มีโอกาสท้องยาก เพิ่มขึ้น 60%(อืม แต่เห็นหลายคนเมาแล้วท้อง ถ้าไม่อยากมีต้องป้องกันนะครับ) ดื่มคาเฟอีกมากๆ ทำให้ท้องยากขึ้น (หากดื่มวันละ 5 แก้ว) แถม ถ้าดื่มตอนท้อง(วันละ 2-3 แก้ว)ก็เพิ่มโอกาสการแท้งเช่นกัน ยาเสพติดนอกจากจะให้โทษแล้ว ยังทำให้ท้องยากด้วยนะครับ ที่มาของบทความ http://www.fertstert.org/article/S0015-0282(16)62849-2/fulltext
Read moreการแพทย์แปดบรรทัด “ท้องตอนอายุมาก(35ปี) เพิ่มความเสี่ยงอะไรบ้าง”
มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงที่จะได้ลูกแฝด(การตั้งครรภ์แฝดเป็นความเสี่ยงนะครับ) คุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะต้องคลอดโดยวิธีการผ่าตัดคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงที่จะตั้งครรภ์รวมกับมีโรคประจำตัว เช่น เนื้องอกมดลูก ทารกในครรภ์เสี่ยงมีความผิดปกติของพันธุกรรม ทารกในครรภ์เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด บทความอ้างอิงจาก https://www.acog.org/Patients/FAQs/Having-a-Baby-After-Age-35
Read moreการแพทย์ แปดบรรทัด “ยิ่งแก่ยิ่ง(มีลูก)ยาก”
อายุเป็นปัจจัยที่ทำให้มึลูกยากทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ผู้หญิงเมื่ออายุเข้า 35 ปีจะยิ่งมีทำให้โอกาสมีลูกลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้ชายอายุเยอะจะมีลูกยาก แต่มักจะเห็นผลชัดๆตอนอายุเข้า 50 ปี ประมาณ 80% ของคู่ที่พยายามมีลูกจะท้องภายใน 6 เดือนแรก โอกาสท้องมากที่สุดจะเกิดภายในเดือนแรก สาวอายุยี่สิบมีโอกาสท้องมากกว่าสาวอายุสามสิบปลายๆประมาณ 2 เท่า ปกติเมื่อมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิด เป็นเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ท้อง จะเกณฑ์ภาวะมีบุตรยาก แต่ถ้าอายุเกิน 35 ปี หากผ่านไป 6 เดือนแล้วยังไม่ท้องก็ควรทำการตรวจประเมินแล้ว ที่มาของภาพและบทความ http://www.fertstert.org/article/S0015-0282(13)00790-5/fulltext
Read more