สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะกลับไปทำหลังจากงาน ESHRE2017 กลับไปพัฒนาเรื่องคลินิกมีบุตรยากที่รพ.ต่อ หลังจากปีที่แล้วประกาศกร้าวไว้ว่าจะมี IVF ที่รพ.ภายใน 3 ปี ตอนนี้เหลือ 2 ปี แต่เราก็มีการพัฒนามากขึ้น มีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น หยูกยาเพิ่มขึ้น สถานที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว มีการพูดคุยเรื่องการนำอุปกรณ์เข้ามาและปรับปรุงสถานที่เพื่อให้การดูแลรักษาผู้มีบุตรยาก ดังนั้นอีก 2 ปีน่าจะทันตามที่ประกาศกร้าวไว้(ถ้าไม่ทัน…….ก็ไม่ทันสินะ) เรื่องของการส่งต่อคนไข้มีความสำคัญมาก อย่างที่ยุโรปมีการ cross border เพื่อทำการรักษากันเป็นเรื่องปกติ โดยเหตุผลทั้งด้านของความเชี่ยวชาญในการรักษา และเรื่องข้อห้ามข้อบังคับของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน(ของเราส่งต่อข้ามจังหวัดใกล้ๆกันก่อน) การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ(อันนี้รู้อยู่แล้ว) แต่คงต้องทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่นจัดตั้งกลุ่มหมอ Repro บ้านนอก ที่ทำงานอยู่ในรพ.ศูนย์หรือรพ.ทั่วไป เพื่อเป็นการส่งต่อคนไข้ในแต่ละเขตสุขภาพ อย่างเขตสุขภาพที่ 6 (ปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สระแก้ว) ที่มีหมอ Repro อยู่ 3 คน(ดูน้อยเนอะ) ต้องมาวางเครือข่ายประสานงาน เพื่อทำงานให้เป็นระบบ นำข้อมูลส่งต่อเขตสุขภาพ เพื่อที่จัดสรรงบประมาณ มาพัฒนางานด้านนี้ หรือสร้างเครือข่าย PPP […]
Read moreการรักษาผู้มีบุตรยากแห่งมวลมนุษยชาติ(ตอนที่ 1)
ทำไมถึงอยากให้มีคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากในโรงพยาบาลรัฐของประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้? ได้มาเปิดหูเปิดตาพูดคุยกับหมอหลายคนในยุโรปเรื่องของการรักษาภาวะมีบุตรยาก พบว่า พบว่า พบว่า หลายประเทศจ่ายให้คนที่ต้องการมีลูกมารักษาได้ฟรี ถึงแม้บางทีจะมีข้อจำกัดบ้าง เช่น ทำฟรี 3 ครั้ง 6 ครั้ง อายุต้องน้อยหน่อยถึงจะรักษาได้ฟรี แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นถึงว่ารัฐเห็นความสำคัญของการมีลูก ย้อนมามองดูประเทศกำลังพัฒนาแห่งหนึ่งที่ประกาศตัวเป็น Medical hub แน่นวลว่าหมอประเทศนี้มีความรู้ความสามารถสูง เทคโนโลยีพร้อม มีต่างชาติหลั่งไหลเข้ามารักษาด้วย แต่ แต่ แต่ ความพร้อมเหล่านั้นกลับอยู่ในภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ เพราะอะไรขึ้นถึงเป็นอย่างนั้น ต้องบอกว่าการสนับสนุนของภาครัฐมักจะไปลงกับ โรคหรือภาวะที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน โรคที่ทำให้เสียชีวิต โรคที่ทำให้เกิดความเสื่อม ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ(สาเหตุการตายอันดับ 1) โรคมะเร็ง การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ช่วงหลังๆยิ่งบูมกับภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น แต่ เรากำลังทุ่มกำลังทั้งหมดไปกับการรักษาความเสื่อม สู้กับธรรมชาติที่กำลังเสื่อมถอย ทำไม เราไม่ทุ่มกำลังไปกับการสร้างทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดในโลก “ทรัพยากรมนุษย์” บางคนอาจจะแย้งว่าเด็กยังไม่เกิดจะรู้ได้อย่างไรว่าจะสร้าง productivity ได้ขนาดไหน แต่แน่นอนว่าในครอบครัวที่อยากมีลูกจนต้องได้มาทำการรักษา การเลี้ยงดูใส่ใจ อยากให้เด็กคนนั้นเป็นคนดี เป็นคนเก่ง ยกตัวอย่าง Israel ประเทศที่แห้งแล้ง ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของเค้าคือ “คน” […]
Read more